Sony RX Workshop: การตีโจทย์ให้แตกด้วยกล้อง RX Series

เมื่อวันเสาร์ที่ 16 และ 23 ที่ผ่านมา ผมไปเข้าร่วม Workshop “การตีโจทย์ให้แตกด้วยกล้อง RX Series”โดยคุณอธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา (ขอเรียกว่าพี่ชุมละกัน) ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ประเทศไทยมาครับ (ผลงานของพี่ชุมที่น่าจะเคยผ่านตาหลายๆ คน คือภาพถ่าย Fukushima nuclear plant ที่ได้ลง National Geographic นั่นเอง)

Workshop ไม่ใช่ Workshop สอนถ่ายรูปปกติครับ แต่เป็นการไปฟังบรรยายเรื่องความคิด,การวางแผนและวิธีการถ่ายภาพข่าว/สารคดีของพี่ชุมด้วยกล้อง Sony (ทั้ง A7/9 และ RX) ในวันที่ 16 และรับการบ้านไปถ่ายรูปมาในหัวข้อที่ได้รับ assign แล้วมาส่งให้พี่ชุม review+เชือด พร้อมกับบรรยายภาพกับการถ่ายรูปของเราให้ทั้ง class ฟังในวันที่ 23 ครับ ผมก็เป็นหนึ่งใน 12 คนที่ได้การบ้านกับเขาด้วย

เนื้อจากสิ่งที่ผมจดมาจากการฟังบรรยายทั้งสองครั้งมีเยอะมากๆ ก็ขอสรุปและเน้นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ชุมย้ำก่อนก็แล้วกัน

สิ่งสำคัญที่สุดที่ผมได้จาก Workshop ครั้งนี้

  • รู้จักกล้องของเราให้ดีที่สุด เช่นรู้ว่าเราถนัด mode ไหน, ปรับค่ายังไง, รู้จุดเด่นจุดด้อยของกล้องตัวเอง เพราะว่าหน้างานถ้ามัวเสียเวลางมปรับกล้อง (ที่เราใช้ไม่ถนัด) จะเสียโอกาสได้
  • research และวางแผนก่อนออกไปถ่ายภาพ (ดูรูปคนอื่น, ดูเวลา, ดูมุม) ควรทำ To-Do list ว่าถ่ายอะไรได้บ้างในหัวข้อนั้นๆ เพื่อจำกัดความคิดและธีมของการถ่ายไม่ให้ฟุ้งกระจาย
    ภาพนี้เป็นตัวอย่าง To-Do list ของการถ่ายภาพในหัวข้อภูเก็ตว่ามีอะไรได้บ้าง มีกี่ธีม
  • ถ่ายภาพออกมาให้คนที่ไม่รู้เรื่องการถ่ายภาพชอบให้ได้ เพราะถ้าโฟกัส target กรุ๊ปเป็นคนถ่ายภาพด้วยกันเองยังไงเขาก็มีข้อติอยู่ดี
  • ไปถึงสถานที่ถ่ายภาพแต่เนิ่นๆ และใช้เวลาสังเกตุมุม, แสง, บรรยากาศก่อน ไม่ต้องรีบร้อนถ่ายภาพ ที่สำคัญคือต้องไปให้ถูกเวลา
  • เป็นตัวของตัวเอง
  • ต้องสนุกกับการถ่ายภาพ
  • ต้องออกไปถ่ายรูปบ่อยๆ
  • เรียนรู้กรอบในการถ่ายภาพทั้งเรื่องวิธีการถ่าย, เทคนิคใช้กล้อง, To-Do list ให้แน่นๆ แล้วออกนอกกรอบ

จากหัวข้อข้างบนนี้เรื่องทำ To-Do list นี่เปิดกะโหลกผมมากที่สุดครับ คือแต่ก่อนผมแค่นึกธีมคร่าวๆ แล้วก็ไม่ได้วางแผนอะไร พอไปถึงที่เจออะไรก็ถ่ายดะไปหมดเลย แต่พอเริ่มทำ To-Do list ในการถ่ายการบ้านก็ทำให้โฟกัสมากขึ้น ใช้เวลาวางแผนและดูธีมเยอะมากขึ้น ทำให้ได้ภาพออกมาในแง่มุมที่หลากหลายกว่าเดิมจากที่ถ่ายมั่วซั่วไปหมดครับ


พี่คนนี้ถ่ายรูปออกมาสวยทุกใบเลย ดู contact sheet แกแล้วแกมองมุมขาดแถมยังตั้งใจและมีความอดทนสูงมากกครับ

สิ่งอื่นๆ ที่ได้จาก Workshop ครั้งนี้
นอกจากประเด็นสำคัญๆ ด้านบนผมยังได้ข้อคิดรวมไปถึงหลักในการถ่ายรูปอื่นๆ จาก Workshop ครั้งนี้อีกเพียบครับ

  • ถ่ายรูปเยอะๆ เพื่อเพิ่มโอกาสและฝึกฝีมือไปในตัว (พี่ชุมเล่าว่าบางงานแกถ่ายไปเป็นหมื่นๆ รูปเพื่อที่จะเอาไปใช้แค่ 10 ใบ – คัดเลือกโดย editor อีกทีนะ)
  • ภาพที่ถ่ายมาต้องเข้ากับธีมและบรรยากาศโดยรวม ถ้ามีอะไรไม่เกี่ยวหลุดมาก็ต้อง compose หรือ crop ทิ้งเลย
  • ให้ google งานคนอื่นว่าไอ้ที่เราจะถ่ายคนอื่นถ่ายอะไรมาแล้วมาก ถ่ายมุมไหนได้ภาพยังไง เพื่อลดเวลาในการหามุมและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดคนอื่นว่ามุมนี้เราอาจจะถ่ายมองเห็นอีกแบบเป็นต้น
  • ภาพ High Key ไม่ใช่ขาว over ไปทั้งภาพ แต่ส่วนที่สมควรจะดำยังต้องดำอยู่
  • ถ่ายรูปเยอะๆ (จากข้างบน) จะช่วยให้มองภาพเป็นเฟรมเป็น layer โดยอัตโนมัติ
  • บางทริปออกไปถ่ายรูปในธีมที่ตั้งใจอาจจะไม่ได้อะไรกลับมาเลย (เพราะแสงไม่ให้ ผิดเวลา หรืออย่างอื่น) แต่ว่าอาจจะได้รูปสำหรับธีมหรือโปรเจคอื่นๆ ก็ให้ถ่ายรูปเก็บไว้ก่อน
  • ถ้าเจอเฟรมที่ใช่ให้ยืนเฝ้าเลย ถ่ายรูปรอจังหวะไปเรื่อยๆ ด้วย
  • เวลาถ่ายรูปให้มี space ไว้เผื่อวาง text ในรูปไว้ด้วย
  • เวลาถ่ายภาพมาเป็น set รูปทุกรูปต้องมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องยอมตัดภาพที่สวยๆ แต่ไม่เข้ากับธีมหรือ set ออก (อันนี้แกแนะนำว่าให้ใช้เวลา บางทีต้องทิ้งไว้สักพักแล้วมาดูใหม่)
  • ภาพที่ถ่ายจากเลนส์ Tele ก็ใช้บอกจำนวนเยอะๆ ได้ด้วยการซูมเน้นๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ Wide อย่างเดียว
    อันนี้ RX100 mk6 ที่ได้ลองจับ ซูมสะใจมาก
  • ไม่ควรผสมภาพสีกับภาพขาวดำใน set เดียวกัน ถ้าสีก็สีให้หมด (และสีในโทนเดียวกันด้วย) หรือขาวดำให้หมด
  • ถ้าทำภาพชุด story เกี่ยวกับคนให้เลือกสักคนในบรรดา subject มาเป็น hero ในเรื่อง
  • ถ้าจะถ่าย closeup ควรเลือกคนที่มีคาแรคเตอร์ชัดเจน (แบบทีเราเห็นเป็นภาพคนมีหนวดชัดๆ หรือรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า)
  • ภาพใน set ต้องมีความหลากหลายไม่ใช่มุมเดียวกันซ้ำๆ (เช่น wide หมด, tele หมดหรือหรืออยู่ห่างจาก subject ที่ระยะเดียวกันหมด) ควรมีตัวเบรกด้วย ความหลากหลายเพิ่มได้ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนระยะเลนส์
  • ต้องกล้าเข้าไปใกล้ subject และก็ต้องยอมถอยห่าง subject สำหรับในอีกมุมนึงเช่นกันไม่ใช่เข้าไปบี้หมดทุกภาพ
  • ครอปภาพได้ ไม่บาป ควรครอปให้แน่นๆ และเป็นสัดส่วนใกล้เคียงกันให้หมดในภาพชุดเดียวกัน
  • ภาพเบลอที่ใช้ได้คือภาพที่เบลอเกือบทั้งภาพ แล้วมีชัดสักหน่อยให้รู้ว่าเราอยู่ที่ไหนและทำอะไรอยู่
  • ถ้าจะทำงาน concept เฉพาะ จะต้องคิดให้ๆ เยอะๆ กำหนดธีมให้เจาะจง และต้อง set ฉากถ่ายกับควรจะใช้เลนส์ช่วงเดียวกันให้หมด

ในส่วนการบ้านนั้นผมได้โจทย์ให้ไปถ่ายรูปในหัวข้อ “สัตว์เลี้ยง” มา ก็จะเอามาลงครั้งหน้าทั้ง To-Do list ของผมและรูปที่พี่ชุมแกคัด/review ไว้ รวมไปถึง feedback ที่ได้ด้วยครับ

จะบอกว่านี่เป็น Workshop ถ่ายรูปแรกในรอบ 10 ปีที่ผมไปร่วมครับ สนุกและได้ความรู้รวมไปถึงเปิดโลกทัศน์เยอะมาก (จน overload กลับไปปวดหัวเลยทีเดียว) อย่างรวมไปถึงได้เห็นภาพสวยๆ มุมมองใหม่ๆ จากเพื่อนร่วม class เยอะมากด้วยครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ Sony ประเทศไทย สำหรับ Workshop ดีๆ แบบนี้ครับ \ w / ขอให้จัดบ่อยๆ อีกนะ

2 thoughts on “Sony RX Workshop: การตีโจทย์ให้แตกด้วยกล้อง RX Series

Leave a comment

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.