กว่าจะครองอำนาจนำ เป็นหนังสือวิชาการเล่มล่าสุดในชุด “สยามพากษ์” ที่จะมองว่าเป็นภาคจบของขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรีก็ได้ครับ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย ดร. อาสา คำภา นักวิจัยสังกัดสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ความดีงามของหนังสือเล่มนี้คือแค่คำนำของศาสตราจารย์ ดร. เกษียร เตชะพีระก็ถือว่าทรงคุณค่าแล้ว นอกจากงานคำนิยามของสำนวนการเขียน (สมัยยังเป็นดุษฎีนิพนธ์) ว่าคือ “สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่มีเชิงอรรถ” นั้นก็การันตีความเข้มข้นเนื้อหาและความลื่นไหลในการอ่านได้เป็นอย่างดี
หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องเส้นทางการเมืองของ “เครือข่ายในหลวง” ซึ่งเกิดขึ้นจากซากปรักหักพังหลังอภิวัฒน์สยาม 2457 และเริ่มมีบทบาทในฐานะกลุ่ม “วงใน” เล็กๆ ในทศวรรษ 2490 จนกระทั่งกลายเป็นเครือข่ายทางการเมืองที่กว้างขวางและประสบความสำเร็จที่สุดในทศวรรษ 2530 จนถึงปัจจุบันครับ
จุดเด่นของเล่มนี้คือไม่ว่าคุณจะมีมุมมองทางการเมืองเป็นแบบไหน สิ่งที่คุณได้จากหนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณเห็น connection ทางการเมืองที่กว้างขึ้นมากๆ จากหลากหลายแง่มุม และจะเข้าสิ่งที่นำมาสู่สภาวะทางการเมืองไทยในตอนนี้ได้ดี
คุณอาสา คำพาเขียนเล่มนี้อ่านสนุกมาก เข้าใจง่าย เป็นงานวิชาการที่อ่านสนุกโดยที่ไม่ต้องมีสำนวนนิยายแบบงานของคุณณัฐพล ใจจริง (ไม่ได้ว่าไม่ดีนะ) เห็นภาพชัดเจนแม้ว่าบุคคลในเรื่องจะเยอะมากกก (มากๆๆๆ) เพราะเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มสถาบันที่มีอำนาจ นักการเมือง นักธุรกิจ ทหาร ข้าราชการจนมาถึงประชาชน จะเห็นว่าเชิงอรรถและนามานุกรมจำนวนมหาศาล อ่านไปแทบจะอยากได้ไวท์บอร์ดมาโยงแผนผังเลย
สิ่งทีน่าสนใจคือทุกกลุ่มที่ว่ามานั้นไม่ได้เคลื่อนไหวไปทางเดียวกันหรือสอดคล้องกันเสมอไป แต่ละกลุ่มเคลื่อนไหวโดยอิสระซึ่งกันละกันเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองในสมดุลแห่งอำนาจที่ใครก็ละเมิดไม่ได้ (ย้ำว่า “ใคร” ก็ละเมิดไม่ได้) ซึ่งความสัมพันธ์ของแต่ละกลุ่มนี้ที่หนังสือเล่มนี้อธิบายก็ยังชัดเจนมาถึงปัจจุบัน (อาจจะเปลี่ยนไปบ้างนิดหน่อย) แต่เอาเป็นว่าอ่านแล้วเห็นภาพอ่ะ
หลายเรื่องผมก็เพิ่งรู้เช่นพลตรี จำลอง ศรีเมืองนั้นเคยอยู่ในกลุ่มยังเติร์กและเคยไปรบจริงๆ ด้วย หรือว่าจะเป็นเรื่องของกลุ่มราชครูที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นความสัมพันธ์ไทย-จีนนั้นจริงๆ เป็นหัวหอกขวาจัดต้านคอมมิวนิสต์เลยด้วยซ้ำ หรือว่าเบื้องหลังการ “หันขวาสุดตัว” ของชนชั้นนำไทยที่นำพาไปสู่การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 6 ตุลานั้นมีเบื้องหลังมากกว่าการรุ่งเรืองของฝ่ายซ้าย แต่เกิดจากการละเมิดฉันทามติ “ไม่ควบรวมอำนาจ” + “ไม่ทำอะไรหวือหวาก้าวกระโดดจนตามไม่ทัน” ของฝ่ายขวาด้วยกันเองด้วย
หนาขนาดเน๊
ความดีงามของเล่มนี้คือทุกอย่างในหนังสือเล่มนี้มันไม่ได้ชวนโลกพังเท่าเล่มอื่นๆ ในเครือฟ้าเดียวกันเท่าไหร่ (ฮาา) ไม่ว่าคุณจะนิยมการเมืองฝ่ายไหน อ่านแบบด้วยความนิยมขวา ซ้ายหรือจะยืนยันความเป็นกลาง (ในยุคเอียงกะเท่เร่แบบนี้อ่ะนะ) ความเชี่ยวชาญ แทคติกและเหลี่ยมทางการเมืองของกลุ่มเครือข่ายในเรื่องจะทำให้คุณทึ่งและได้ความรู้เท่าทัน (หรือชื่นชม) มากขึ้นแน่นอน
ความหนากว่า 500 หน้าและบุคคลในเรื่องจำนวนมหาศาลอาจฟังดูเป็นอุปสรรคบ้าง แต่เชื่อผมเถอะ อ่านเพลินจริงๆ ได้ความรู้ด้วย