สะพายกล้องเที่ยวสิกขิม #7: แวะเที่ยววัด+สวัสดี Pelling

หลังจากเราพบเมืองเล็กๆ แต่ถนนคนเดินที่น่าสนใจอย่างเมือง Namchi วันรุ่งขึ้นเราก็ออกรถกันต่อเพื่อที่จะไปเมือง Pelling ครับ ระหว่างทางก็แวะสถานที่ท่องเที่ยวเพียบเลย วันนี้เน้นแต่วัดครับ

ที่แรกที่ไปก็คือ Siddhesvara Dham เป็นวัดฮินดูที่อลังการงานสร้างมากๆ จะเข้าก็ต้องจ่ายค่าเข้า ถ้าถ่ายรูปก็จ่ายค่าถ่ายรูปเพิ่ม ซึ่งตรงนี้ผมก็ว่าแฟร์ดีนะ รับได้ แต่ต้องฝากกระเป๋าแล้วเสือกมีค่าฝากกระเป๋า พอเดินเข้าไปแล้วบอกว่าต้องถอดรองเท้า ก็ต้องจ่ายค่าฝากรองเท้าอีก ถือเข้าไปไม่ได้ เหี้ยยยยยยย พวกผมเลยจัดเท้าเปล่าเดินกันซะ


จุดเด่นที่นี่คือเทวรูปองค์พระศิวะที่ใหญ่มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก


ลองซูมดู ใหญ่จริงๆ ครับ

วัดนี้อยู่สูงมากครับ หมอกลงตลอด ถ้ามองดีๆ จะมองเห็นภูเขาอีกลูกที่อยู่ใกล้ๆ มีวัดพุทธอยู่เช่นกัน เหมือนกับว่าสร้างมาข่มกันซะงั้น -*- พอจังหวะฟ้าเปิด (ซึ่งมีแค่แป๊บเดียว) ก็จะได้ภาพฟ้าสวยๆ แบบนี้มา

ข้างในวิหารเป็นเรื่องราวของพระศิวะครับ ตัวผมเองอ่านตำนานฮินดูมาค่อนข้างเยอะตั้งแต่เด็กเลยมีอะไรคุ้นๆ อยู่เยอะมาก ส่วนตัวแล้วคิดว่าพระศิวะนี่เป็นเทพที่ติส ทรงพลัง และคาดเดาไม่ได้แบบเหนือสามัญสำนึกของมนุษย์จริงๆ ที่ไม่มีรูปข้างในวิหารก็เพราะว่าข้างในห้ามถ่ายรูปครับ ของจริงสวยมากๆ

ออกมาดูข้างนอกละกัน วิหารแต่ละวิหารสวยดีครับ เข้าไปได้


แบบนี้น่าจะคุ้นๆ


คนนี้เดาว่าเป็นพรานในตำนานที่เผลอบูชาพระศิวะด้วยความเข้าใจผิด (คือพระศิวะเข้าใจว่านายพรานบูชาท่าน) เลยรอดตายเพราะพระศิวะช่วย

เดินอยู่สักพักจนหมอกลงจัดมากก็ลงกันครับ ที่วัดนี้มีร้านอาหารมังสวิรัติแบบอลังการงานสร้างด้วย แต่ไม่ได้เข้าครับ


Continue reading “สะพายกล้องเที่ยวสิกขิม #7: แวะเที่ยววัด+สวัสดี Pelling”

ทรราชที่ร้ายกาจที่สุด

“แน่นอน กษัตริย์เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ปกป้องปวงชนจากทรราช … โดยเฉพาะทรราชที่ร้ายกาจที่สุด นั่นก็คือตัวปวงชนเอง”

— Stuart Rene “Stu” LaJoie-Davis

จาก The Moon Is a Harsh Mistress โดย Robert A. Heinlein

วิธีสร้าง JSON Message ด้วย Java

ผมเขียนถึงวิธีการสร้าง JSON message บน Java ผ่าน entry นี้มาแล้วรอบนึง หลังจากนั้นผมก็ไปค้นเจอทีหลังว่าจริงๆ แล้ว Java มันสนับสนุน JSON โดยไม่ต้องพึ่ง 3rd Party lib แล้ว เลยมาแนะนำกันครับ

สิ่งที่ผมจะสร้างคือ JSON หน้าตาแบบนี้

{
   "service":"quote",
   "user":"plynoi",
   "symbols":["Nokia"],
   "fields":["BID","ASK","HIGH"]
}

ขอเปรียบเทียบกับวิธีใช้ 3rd Party ก่อน ตัวที่ผมเลือกเพราะ google เจออันดับแรกๆ คือ json-simple ซึ่งมันก็ใช้ง่ายๆ ตรงไปตรงมา doc อ่านง่ายดีมาก จะขอยกตัวอย่างตัดมาจาก entry Java อันนั้นอีกทีนะครับ

import org.json.simple.*;

private void createJSON(){

	JSONObject request_msg = new JSONObject();
	request_msg.put("service","quote");
        	request_msg.put("user","plynoi");

        	JSONArray itemArray = new JSONArray();
        	itemArray.add("Nokia");

        	JSONArray filterArray = new JSONArray();
        	filterArray.add("BID");
        	filterArray.add("ASK");
       	filterArray.add("HIGH");

        	request_msg.put("symbols",itemArray);
        	request_msg.put("fields",filterArray);
	
	//JSON message "request_msg" is ready to process
}

เทียบกับตัว Native ของ Java เองอย่าง JSR 353 แล้วส่วนตัวผมมองว่าที่ Java ให้มาอยู่แล้วยุ่งยากกว่าเยอะ แต่โชคดีที่ doc เขียนละเอียดดีโฮกๆ (แต่ก็อ่านยากกว่าเช่นกัน :p)

import javax.json.Json;
import javax.json.JsonObject;

private void createJSON(){

	JsonObject request_msg = Json.createObjectBuilder()
		.add("service","quote")
		.add("user","plynoi")
		.add("symbols",Json.createArrayBuilder()
                    		.add("Nokia")
               	 )
                	.add("fields",Json.createArrayBuilder()
                    		.add("BID")
                    		.add("ASK")
                    		.add("HIGH")
                	)
                .build();
	
	//JSON message "request_msg" is ready to process
}

จะไปใช้ตัวไหนก็แล้วแต่นะครับ ส่วนตัวผมชอบ simple-json มากกว่าตรงที่มันดูตรงไปตรงมากว่านี่แหละ