สะพายกล้องเที่ยวโซล #4.2: ไปติ่งที่ SMTOWN Coex Artium

ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ พอออกจาก Samsung พวกเราก็ไปกันที่ Coex Mall (코엑스몰) เพื่อไป SMTOWN Coex Artium ร้านของของที่ระลึกและคาเฟ่ของบรรดาศิลปิน K Pop แห่งค่าย SM Entertainment (SM엔터테인먼트)


ตอนที่ไปสาวๆ F(x) กำลังโปรโมทอัลบั้มใหม่พอดี

ชั้นแรกของ SMTOWN Coex Artium นั้นเป็นร้านของของที่ระลึกรวมไปถึง CD อัลบั้มของศิลปินในค่าย SM ทั้งหมดครับ (มีตั้งแต่ BoA ชุดเกาหลีก่อนไปญี่ปุ่น!!) ทั้งร้านก็ประดับด้วยรูปของศิลปินเต็มไปหมด


หมอนก็มี (ไม่ได้ซื้อมา)


โอย น่าซื้อกลับมา
Continue reading “สะพายกล้องเที่ยวโซล #4.2: ไปติ่งที่ SMTOWN Coex Artium”

สะพายกล้องเที่ยวโซล #4.1: เดินเล่นอีแด – Samsung D’light

ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ วันนี้เราเริ่มตอนเช้าด้วยการไปเดินเหล่สาวแถวๆ มหาวิทยาลัยสตรีอีแด (이화여자대학교) กัน

จุดเด่นของย่านนี้นอกจากเป็นแหล่ง shopping และแหล่งของกินราคาไม่แพงแล้วยังมีตัวมหาวิทยาลัยเองที่อยู่บนภูเขาและสร้างเจาะช่องเขาไปเป็นอาคารที่สวยงามจนมีนักท่องเที่ยว (แบบพวกเรานี่แหละ) เข้าไปเดินถ่ายรูปกัน (ซึ่งเขาก็ให้เข้านะ)


ช่องนี้ไง


มองย้อนกลับมา

ช่วงที่เราไปใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีพอดี สีแดงๆ เหลือๆ เต็มมหาลัยไปหมดเลย ส่วนสาวๆ ที่กะไปเหล่เหรอะครับ พวกเธอก็แหล่มดีอยู่หรอก เยอะด้วย แต่ที่เจอคือส่วนหญิงพวกเธอรีบวิ่ง 4*100 มาจากรถใต้ดินกันก็เลยมองไม่ค่อยทันเท่าไหร่ สงสัยรีบไปเข้าเรียนกันหมด


Continue reading “สะพายกล้องเที่ยวโซล #4.1: เดินเล่นอีแด – Samsung D’light”

Quick Note: TypeScript

เพิ่งเจอลูกค้าใช้ภาษา TypeScript (Wiki) เห็นว่าน่าสนใจเลยลองศึกษาดูสักพักล่ะ

  • มันเป็นภาษา Super Set ของ JavaScript ที่คิดค้นโดยเทพ Anders Hejlsberg
  • เพราะว่า JS มันโคตร flexible จนเราเขียนให้มันผิดพลาดได้ง่ายๆ TypeScript ก็เลยแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มความเป็น Static Type, Scope, Class-based OOP เข้าไปใน ECMAScript syntax แล้ว compile ออกมาเป็น JS หรือ ECMAScript ver ต่างๆ ได้เลย ปัญหาพวก type ก็ detect กันตอน compile นี่แหละ
  • เพราะมันเป็น Super Set ของ JS ดังนั้นเราเขียน JS ใส่มันไปดื้อๆ ก็ compile ผ่าน
  • ถ้าทำงานกับทั้งภาษา Dynamic กับ Static Type พร้อมๆ กันแล้วจะรู้สึกว่ามันเป็นธรรมชาติมาก ดูไม่ฝืนความเป็น JS แต่ถ้าทำงานกับภาษา Dynamic ล้วนน่าจะชอบ CoffeeScript มากกว่า
  • โดยรวมทำให้เขียน code ช้าลงนิดนึง แต่ได้ความมั่นใจเรื่อง type, การเขียน class แบบที่คุ้นเคยมา
  • ข้อเสียคือเวลาทำงานกับ JS library อื่นๆ มันต้องการ file definition (.ts.d หรือ typing) ที่ระบุ structure ของ function, class, type, module ของ library นั้นๆ เพื่อให้มัน compile ผ่าน (อารมณ์ .h ของภาษา C)
  • ถ้าเป็น lib ดังๆ แบบ jQuery, Angular, React พวกนี้มีคนทำ file พวกนี้ให้อยู่แล้ว แต่คำถามที่สำคัญคือบางคนทำ file พวกนี้ก็ไม่ใช้คนที่เขียน lib นั้น ดังนั้นก็ต้องดูกันยาวๆ ว่าจะไล่แก้ file definition ตาม update ได้ตลอดไหม
  • ถ้าเป็น lib internal (หรือ legacy) lib เนี่ยยากสุดๆ ที่จะมีเจ้า file นี้หรือเขียน file นี้้ย้อนหลัง ขนาดจะลองกะ JS API ตัวเองยังต้องไปเอา file นี้จากลูกค้า (ซึ่ง decompile API ผมออกมาเขียนไอ้ file นี้) มาใช้เลย
  • ส่วนตัวคิดว่าถ้าเป็น Project ใหม่ + ใช้ lib ที่สนับสนุน TypeScript (เช่น Angular 2) หรือ lib ที่เราเขียนใหม่เองก็น่าสนใจที่จะใช้มัน
  • แต่ถ้าทำงานกับ legacy lib เยอะๆ ก็… ตัวใครตัวมัน

ป.ล. กำลังหัดอยู่จาก link TypeScript Tutorial เข้าใจง่ายดี